เมนู


อรรถกถาทิฏฐิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทเป็นต้นว่า สมฺมาทิฏฺฐิโก ทรงหมายถึงพระเสขะ 7 จำพวก
เหมือนในสูตรแรก ด้วยอำนาจมรรคมีองค์ 8. วาระที่สอง ตรัสพระ-
ขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน พร้อมด้วยอรหัตผลญาณ และ
อรหัตผลวิมุตติ ด้วยอำนาจแห่งมรรคมีองค์ 10 หรือด้วยอำนาจแห่งมรรค
มีองค์ 8. ในวาระที่สาม ตรัสพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุต. วาระที่สี่
ตรัสถึงพระตถาคต และพระขีณาสพเช่นกับพระตถาคตอย่างนี้. ดังนั้น
พระสูตรนี้ ตรัสด้วยอำนาจบุคคลที่กล่าวในสูตรแรก แต่ในพระสูตรนี้ต่างกัน
เพียงเทศนาเท่านั้น.
อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 9

10. ขันธสูตร


ว่าด้วยสมณะ 4 จำพวก


[90] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก
สมณปทุโม สมณะปทุม
สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้เป็นพระเสขะ ยังไม่สำเร็จมโนรถ ยังปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยมอยู่ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็น
ผู้เล็งเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมดับไปในอุปาทานขันธ์ 5 ว่าอย่างนี้รูป
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับไปแห่งรูป อย่างนี้เวทนา. . .
สัญญา...สังขาร. . .วิญญาณ ฯลฯ อย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา
. . . สังขาร. . .วิญญาณ แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก
บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้
เล็งเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ
อย่างนี้ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ ทั้งได้ถูกต้อง
วิโมกข์ 8 ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม
บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-
ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มี
ผู้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาล
ในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบขันธสูตรที่ 10
จบมจลวรรคที่ 4

อรรถกถาขันธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในขันธสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
วาระที่ 1 ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่เริ่มความเพียรเพื่อพระอรหัต
ยังดำรงอยู่ด้วยความประมาท. วาระที่ 2 ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่ได้ฌาน
แต่เริ่มวิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท. วาระที่ 3 ตรัสพระเสขบุคคล ผู้เริ่ม
วิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท ได้วิโมกข์ 8. วาระที่ 4 ตรัสพระขีณาสพ
ผู้เป็นสุขุมาลเป็นอย่างยิ่งแล.
จบอรรถกถาขันธสูตรที่ 10
จบมจลวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปาณาติปาตสูตร 2. มุสาสูตร 3. วัณณสูตร 4. โกธสูตร
5. ตมสูตร 6. โอณตสูตร 7. ปุตตสูตร 8. สังโยชนสูตร 9. ทิฏฐิสูตร
10. ขันธสูตร และอรรถกถา.